วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โรงแรมในชัยภูมิ

-โรงแรม เลิศนิมิตร ชัยภูมิ (Lertnimitra Hotel)

447 ถ.นิเวศรัตน์ ต.ในเมือง อ.เมือง, ตัวเมืองชัยภูมิ, ชัยภูมิ, ไทย 36000

-ภูสวย น้ำใส รีสอร์ท (Phusuay Namsai Resort)189 หมู่ 4 ถนนภูเขียว - ชุมแพ ต.ผักปัง อ.ภูเขียว, ชัยภูมิ, ไทย

 - สยาม ริเวอร์ รีสอร์ท (Siam River Resort)

55 ถนนบรรณาการ, ต.ในเมือง, ตัวเมืองชัยภูมิ, ชัยภูมิ, ไทย 36000

 

จระเข้หลวงปู่คำ

จระเข้หลวงปู่คำ
Luang Pu Kham Crocodile
 
ชาวบ้านโนนแดง ตำบลโนนแดง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ มีความเชื่อว่าเรื่องดวงวิญญาณของหลวงปู่คำ เจ้าอาวาสวัดดอนไผ่ ที่เคารพนับถือได้มรณะภาพไปแล้วเข้าสิงสถิตที่ร่างจระเข้ที่ท่านเลี้ยง ไว้ โดยหลวงปู่คำได้ลงยันต์ไว้ที่หัวจระเข้ ให้เป็นเจ้าหนอง เจ้าบ้าน เวลามีคนมาดูหมิ่น หรือท้าทาย จะต้องโดนกัดทุกรายเมื่อลงไปในน้ำหนองไผ่แห่งนี้ การที่จะพบและ สัมผัสจระเข้ จะต้องทำพิธีโดยการแต่งขันห้า   ขันแปด อัญเชิญดวงวิญญาณของหลวงปู่คำมาสถิตที่ร่างของจระเข้ตัวนี้ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านโนนแดงมาจนถึงปัจจุบัน

เขาพังเหย-สวนรุกขชาติน้ำพุดทัพลาว

เขาพังเหย
Phang Hey mountain
 
เขาพังเหย ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติไทรทอง อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ อยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕ (ชัยภูมิ-นครสวรรค์) ประมาณกิโลเมตรที่ ๗๐ เป็นจุดพักรถยนต์และชมทิวทัศน์ของผืนป่าและแนวสันเขาสลับซับซ้อนของเขาพัง เหย เมื่อมองลงไปเบื้องล่างจะเห็นที่ราบ อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ เป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะในช่วง   ยามเย็นที่อาทิตย์จะอัสดง
 
 สวนรุกขชาติน้ำพุดทัพลาว
  น้ำผุดทับลาวสวนรุกขชาติน้ำผุดทัพลาวตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2536 ตามที่จังหวัดชัยภูมิได้เสนอ ในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าภูซำผักหนาม บ้านผาเบียด หมู่ 2 ตำบลห้วยยาง อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งมีตาน้ำผุดใต้ดิน มีพื้นที่ประมาณ 160 ไร่
     ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขา มีตาน้ำผุดขนาดใหญ่ผุดขึ้นกลางบ่อน้ำ ใสสะอาดปราศจากกลิ่น ไหลเป็นลำธารในสภาพดินลูกรังปนทราย สภาพป่าเป็นป่าเบญจพรรณ
    การเดินทาง สวนรุกขชาติน้ำผุดทัพลาวตั้งอยู่ที่บ้านผาเบียด หมู่ 2 ตำบลห้วยยาง อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ในเส้นทางจากอำเภอคอนสาร ไปตัวเขื่อนจุฬาภรณ์ โดยอยู่ห่างจากตัวอำเภอ ประมาณ 13 กม.
    ติดต่อสอบถาม
สวนรุกขชาติน้ำผุดทัพลาว ต. ห้วยยาง อ. คอนสาร จ. ชัยภูมิ 36180

น้ำตกตาดฟ้า

น้ำตกตาดฟ้า
Tat Fa Waterfall


ตั้ง อยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติตาดโตน เป็นน้ำตกขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายแก่งหินขวางลำน้ำ อยู่ทางทิศตะวันออกของเขตอุทยานแห่งชาติ ห่างจากตัวจังหวัดชัยภูมิประมาณ ๒๓ กิโลเมตร การคมนาคมจะไปตามทางลาดยางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ระยะทางประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ถึงบ้านไทรงามแล้ว แยกซ้ายมือไปตามถนนลาดยางถึงบ้านนาวัง แยกขวามือบริเวณโรงเรียนบ้านนาวังเข้าไปเป็นระยะทาง ๔ กิโลเมตร สองข้างทางเป็นป่าเต็งรัง ถึงบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ตน.๓ (ตาดฟ้า) บริเวณน้ำตกเป็นลานหินลาดชันกว้างประมาณ ๑๕-๒๐ เมตร ยาวโดยตลอดประมาณ ๕๐-๙๐ เมตร มีความลาดชันประมาณ ๓๐ องศา

อุทยานแห่งชาติภูแลนคา

อุทยานแห่งชาติภูแลนคา ครอบคลุมพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 177 ตารางกิโลเมตร ในเขต 4 อำเภอ คือ อำเภอเมือง บ้านเขว้า หนองบัวแดง และเกษตรสมบูรณ์ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน สภาพป่ามีทั้งป่าทึบและป่าโปร่ง
เป็นต้นน้ำลำธารของลำห้วยที่ไหลลงสู่แม่น้ำ ชี มีจุดเด่นทางธรรมชาติหลากหลายทั้งหน้าผาสันเขา ลานหินและก้อนหินรูปร่างแปลก ๆ รวมทั้งพืชพันธุ์ที่น่าสนใจ เหมาะมาเที่ยวชมในระหว่าง เดือนพฤษภาคม-ธันวาคมทางอุทยานได้จัดทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติผ่านสถานที่ ท่องเที่ยวต่างๆ ของอุทยานได้แก่
      ทุ่งดอกกระเจียว เป็นพื้นที่ป่าเต็งรังที่มีต้นกระเจียวขึ้นอยู่ตามซอกหินสลับกับต้นไม้นานา ชนิด มีทั้งดอกสีชมพูและดอกสีขาว เหมาะมาเที่ยวชมในช่วง เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม
     ลานหินแตก เป็นลานหินที่แตกเป็นร่องลึกตามธรรมชาติ ทอดตัวยาวตามแนวหน้าผาสันเขา สามารถชมทัศนียภาพพื้นที่อำเภอหนองบัวแดงและเกษตรสมบูรณ์ ใกล้กันเป็นผากล้วยไม้ ในช่วงปลายฝนต้นหนาวมีกล้วยไม้ที่เกาะตามก้อนหินและคาคบไม้ออกดอกสวยงามมาก
    
     ประตูโขลง เป็นก้อนหินขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายซุ้มประตูหิน บริเวณโดยรอบยังมีก้อนหินลักษณะแปลกพิศดารจำนวนมากสลับกับป่าเต็งรัง เคยเป็นที่ล่ามช้างที่เคยใช้ชักลากไม้จึงได้ชื่อว่าประตูโขลง
     ผากล้วยไม้ เป็นหน้าผาสูงลดหลั่นตามลำดับ โดยทอดตัวยาวติดต่อกัน มีพันธุ์กล้วยไม้หายากหลายชนิดขึ้นเป็นจำนวนมากตลอดหน้าผา มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติผากล้วยไม้-ผาแจ้ง ระหว่างทางจะผ่าน หินหงษ์ฟ้า ซึ่งเป็นก้อนหินใหญ่ลักษณะคล้ายหงส์
    
     ภูคี  เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติภูแลนคา เชื่อมต่อกันระหว่างอำเภอเกษตรสมบูรณ์กับอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,038 เมตร เป็นยอดภูที่สูงที่สุดของพื้นที่อุทยานฯ ซึ่งสามารถมองเห็นภูมิประเทศและบรรยากาศภูหยวก ภูตะเภา เทือกเขาภูเขียว อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และมีสภาพภูมิอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี รวมทั้งพื้นที่ที่มีพันธุ์ไม้ป่าและสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก

    ภูเกษตร  เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติภูแลนคา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 966 เมตร เป็นยอดภูที่สูงเป็นอันดับสองรองจากภูคีของพื้นที่อุทยานฯ ซึ่งสามารถมองเห็นภูมิประเทศและบรรยากาศของภูคี ภูอ้ม ภูคล้อ ภูกลาง เทือกเขาภูเขียว อำเภอเกษตรสมบูรณ์ และอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ เป็นพื้นที่ที่ภูมิประเทศหนาวเย็นและแห้งแล้ง เพราะสภาพพื้นที่ป่าไม้บนยอดภูถูกทำลายจากการบุกรุกพื้นที่ของราษฎรและกลาย เป็นไร่ร้างที่มีพื้นที่กว้างใหญ่บนเทือกเขาภูแลนคา

บึงละหาน

บึงละหาน
La Han Reservoir
 
บึงละหานเป็นพื้นที่ชุมน้ำขนาดใหญ่อันดับที่ ๔ ของประเทศ มีพื้นที่ครอบคลุม ๔ ตำบลคือ ตำบลละหาน ตำบลบ้านกอก ตำบลหนองบัวใหญ่ และตำบลหนองบัวบาน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่ ๑๗,๓๘๖ ไร่  ๓ งาน ๗ ตารางวา
สัตว์น้ำที่อยู่อาศัย มีปลาชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ปลาฉลาด (ตอง) ปลาสร้อยนกเขา ปลาสร้อยขาว ปลากระสูบ ปลาหมอช้างเยียบ ปลานิล    ปลาตะเพียนขาว ปลาตะเพียนทราย ปลายี่สกเทศ ปลาดุกอุย ปลาดุกด้าน ปลาสลิด ปลาช่อน ปลาบู่ ปลาไหลและกุ้งก้ามกราม เป็นต้น
 

อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล (แล)

อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล (แล) ตั้งอยู่กลางวงเวียนศูนย์ราชการ ในตัวเมือง ชาวชัยภูมิได้ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่เจ้าเมืองคนแรกของชัยภูมิ
ตามประวัติเล่าว่า ในปี 2360 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 2 นายแล ซึ่งเป็นข้าราชการสำนักเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ ได้อพยพครอบครัวและบริวารข้ามลำน้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านน้ำขุ่น บริเวณอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน ต่อมาจึงได้ย้ายชุมชนมาตั้งใหม่ที่โนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ 6 กิโลเมตร ได้ส่งส่วยต่อเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ ต่อมาจึงย้ายชุมชนมาอยู่ที่บ้านหลวง ในเขตอำเภอเมืองปัจจุบัน และได้หันมาขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา ส่งส่วยแก่รัชกาลที่ 3 ไม่ขึ้นแก่เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์อีกต่อไป จึงโปรดเกล้าฯ ยกบ้านหลวงเป็นเมืองชัยภูมิ และแต่งตั้ง ขุนภักดีชุมพล (แล) เป็นเจ้าเมืองคนแรกของชัยภูมิ
ครั้น พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ก่อการกบฎ ยกทัพเข้าตีเมืองนครราชสีมา ขุนภักดีชุมพลพร้อมเจ้าเมืองใกล้เคียงยกทัพไปสมทบกับคุณหญิงโม ตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์จนแตกพ่าย เจ้าอนุวงศ์เกิดความแค้นจึงย้อนกลับมาจับขุนภักดีชุมพลประหารชีวิตที่บริเวณ ใต้ต้นมะขามริมหนองปลาเฒ่า ด้วยความดีที่ขุนภักดีชุมพลมีต่อแผ่นดินไทยจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น พระยาภักดีชุมพล (แล)

ทุ่งกระมัง

         เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ป่าในเขตอำเภอคอนสาร เกษตรสมบูรณ์ และหนองบัวแดง ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า การเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์สัตว์ป่า เช่น ไก่ฟ้าพญาลอ นกยูง เก้ง กวาง และเนื้อทราย เป็นต้น โดยปล่อยสัตว์ให้อาศัยอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติ สามารถสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ได้เอง ได้มีการจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติสำหรับผู้สนใจศึกษาธรรมชาติอย่างใกล้ชิด
            ทุ่งกระมัง เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ใจกลางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว แหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์กินพืช มีเนื้อที่ 830 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2535โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ปล่อยสัตว์ป่าคืนถิ่นในบริเวณนี้ เช่น เก้ง กวาง กระจง และนกต่างๆ มีการจัดทำดินโป่งในบริเวณทุ่งกะมังเพื่อให้สัตว์มากินดินโป่งและเผาแปลง ทุ่งหญ้าเพื่อให้เกิดหญ้าระบัดเป็นอาหารของเก้ง กวางในช่วงฤดูแล้ง บนยอดเนินเหนือบริเวณทุ่งกะมัง มีพระตำหนักที่ประทับอยู่เหนืออ่างน้ำ
การเดินทางไปเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวใช้เส้นทางเดียวกับเขื่อนจุฬาภรณ์ ก่อนถึงเขื่อน 3 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายจากด่านตรวจ (ปางม่วง) ไปยังที่ทำการเขตฯ อีก 24 กิโลเมตร การเข้ามาทัศนศึกษาในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีสองกรณีคือ หากเข้าชมแบบไป-กลับวันเดียว สามารถขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่บริเวณด่านตรวจปางม่วง กรณีพักค้างแรมต้องได้รับอนุญาตจากส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ กรุงเทพฯโดยตรง ทางเขตฯค่อนข้างเคร่งครัดในกฎระเบียบเพราะสภาพพื้นที่ที่อุดมไปด้วยป่าไม้และสัตว์ป่า การเดินทางเข้ามาในพื้นที่ก็เสมือนการเข้ามารบกวนธรรมชาติ ดังนั้น จึงเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าจริง ๆ และทางเขตฯไม่เปิดให้เข้าทัศนศึกษาในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน

เขื่อนจุฬาภรณ์

เขื่อนจุฬาภรณ์ (เขื่อนน้ำพรม) ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร สร้างปิดกั้นลำน้ำพรมบนเทือกเขาขุนพาย ลักษณะเขื่อนเป็นเขื่อนหินทิ้ง แกนกลางเป็นดินเหนียว ตัวสันเขื่อนยาว 700 เมตร ความสูงจากฐานราก 70 เมตร เป็นลักษณะเขื่อนเอนกประสงค์ในความดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าและยังอำนวยประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม นอกจากนี้ในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดอีกด้วย บริเวณเขื่อนมีทิวทัศน์ที่งดงาม อากาศเย็นสบายตลอดปี จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ ภายในบริเวณเขื่อนมีบ้านพัก ร้านอาหารไว้รับรองนักท่องเที่ยว เรือสำหรับให้ล่องชมอ่างเก็บน้ำ มีจุดชมวิวทิวทัศน์เหนือเขื่อน ศูนย์ทดลองพืชเมืองหนาว และหอดูดาว ติดต่อบ้านพักรับรองของ กฟผ. โทร. 436-3271-2, (044) 861669 หรือ (043) 384963 ต่อ 2287 บ้านพักสถานีทดลองและฝึกอบรมเขื่อนจุฬาภรณ์ (ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น) โทร. (043) 242423, (01) 975-6770 การเดินทางไปเขื่อนจุฬาภรณ์ จากตัวเมืองชัยภูมิ ใช้เส้นทางสายชัยภูมิ-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 201) ถึงทางแยกหนองสองห้อง เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 2055 รวมระยะทางจากตัวเมืองชัยภูมิประมาณ 120 กิโลเมตร หรือหากเดินทางมาตามเส้นทางสายหล่มสัก-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 12) เมื่อถึงบริเวณอำเภอคอนสารมีทางแยกไปเขื่อนจุฬาภรณ์อีก 39 กิโลเมตร

จุดชมวิวสุดแผ่นดิน

"สุด แผ่นดิน"  อยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ทำการอุทยานฯ  เป็นแนวหน้าผาและชะง่อน หิน   เป็นจุดสูงสุดบนเทือกเขา พังเหย  สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ  846 เมตร  เกิดจากการดันตัวของแผ่นดินภาคกลาง  (ฉานไทย)  ซุกเข้าไปใต้แผ่นดิน อีสาน (อินโต - ไซน่า)  ทำให้เกิดแผ่นดินที่ยกตัวสูงชัน  เรียกว่า  "สุดแผ่นดิน"  คือเขต รอยต่อของ  3 ภาคอันได้แก่
             1.  แผ่นดินซีกทางอุทยานฯ เป็นเขตของ จ.ชัยภูมิ  (ภาคอีสาน)
             2.  แผ่นดินซีกทางตะวันตกของอุทยานฯ เป็นเขตของ จ.ลพบุรี  (ภาคกลาง)
             3.  แผ่นดินซีกทางเหนือของอุทยานฯ เป็นเขตของ จ.เพชรบูรณ์  (ภาคเหนือ)ซึ่งมีความสวยงาม อากาศเย็นสบาย  และในตอนเช้า ๆ จะมีกลุ่มหมอกลอยผ่านหน้าเราไป  เหมือนกับหยอกเย้ากับผู้มาเยือนเลย

ป่าหินงาม


             "ป่าหินงาม" หรือ   (ลานหินงาม)    อยู่ทางทิศตะวันตกของที่ทำการอุทยานฯ ทั่วบริวเวณเรียงรายไปด้วยหินก้อนน้อย ใหญ่ รูปร่างแปลก ๆ มากมายในพื้นที่กว่า 10 ไร่ เป็นลานหินซึ่งเกิดจากการกัดเซาะดิน  และเนื้อหินทรายมานานนับลานปี   วาง เรียงรายสลับซับซ้อน  อยู่เต็มลานบ้างก็มีรูปรา่างเหมือนกับถ้วยฟุตบอลโลก  บ้างก็เหมือนกบเรด้า  และรูปต่าง ๆ แล้วแต่จะ จินตนาการ  แต่เมื่อดูแล้วชวนให้เกิดความเพลิดเพลินใจเป็นยิ่งนัก

ไทรทอง (Sai Thong)

ไทรทอง (Sai Thong)
 ที่ตั้งและแผนที่อุทยานแห่งชาติไทรทอง
ต.วังตะเฆ่ อ. หนองบัวระเหว จ. ชัยภูมิ 36250
โทรศัพท์ : 0 9282 3437 โทรสาร : 0 4482 8182

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ : นายประสิทธิ์ กรรณสูต

     อุทยานแห่งชาติไทรทอง อยู่ในท้องที่อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอเทพสถิต อำเภอภักดีชุมพล และอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่ประมาณ 199,375 ไร่ หรือ 319 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติป่าหินงามและอุทยานแห่งชาติภูแลนคา เป็นผืนป่าบนเทือกเขาพังเหย ในช่วงต้นฤดูฝนนอกจากผืนป่าจะเขียวชอุ่มชุ่มชื้นไปด้วยพรรณไม้น้อยใหญ่แล้ว ที่นี่ยังงดงามโดดเด่นด้วยดอกกระเจียวที่ผลิบานอยู่เต็มท้องทุ่ง เรียกชื่อว่า ทุ่งบัวสวรรค์ มีน้ำตกไทรทองที่สวยงาม และมีหน้าผาให้ทุกคนท้าพิสูจน์ของความหวาดเสียว


ทุ่ง ดอกกระเจียว

"ทุ่ง ดอกกระเจียว"  เกิดจากดอกกระเจียวป่า หลากหลายสายพันธุ์  ที่พร้อมใจกันขึ้นรายรอบบริเวณ ของอุทยานฯและจะมีอยู่บริเวณหนึ่งใช้พื้นที่หลายไร่     ที่จะมีดอกกระเจียวขึ้นอย่างหนาแน่นจนกลายเป็นทุ่ง    ซึ่ง เวลามองดูก็จะเห็นเป็นสีชมพูปนขาว   และมีสีเขียวของลำต้ันและก้านใบเป็นสี เขียวสด   ประกอบกับสีเขียว ของหญ้าทีขึ้นมาแซม ทำให้ทุ่งกระเจียว เขียวขจี สวยงามเหมือนกับทุ่งในทรวงสวรรค์เลย              โดยในช่วงฤดูฝน เริ่มต้นเดือนมิถุนายน     ถึง ปลายเดือนกรกฎาคม ของทุก ๆ ปี    ต้นกระเจียวจะออก ดอกสวยงามตระการตาไปทั่วผืนป่า  จัดได้ว่าเป็น   "นางเอกของอุทยานฯ"  ก็ว่าได้ ทั้งนี้เพราะดอกกระเจียว จะไม่มีให้เห็นเลยนอกเสียจากในช่วงเวลาที่ว่านี่เท่านั้น...